แบรนด์ = คุณ + เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ = คุณ + ตราสินค้า (LOGO)
เพื่อฉายภาพจำที่แข็งแกร่งพอให้ผู้บริโภคได้จดจำ การเป็นเจ้าของสินค้าที่ดีที่สุดอาจจะยังไม่สามารถ การันตี ความแข็งแกร่งมากพอที่จะ ยืนหยัดในโลกธุรกิจสมัยใหม่ ที่ในแต่ละวัน
มีสินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายตลอดทุกนาที
การจะทำให้แบรนด์คุณโดดเด่นและเป็นที่จับตามองของกลุ่มเป้าหมายของคุณ ด้วยการนำเสนอและการบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์คุณต่างหาก เป็นสิ่งที่จะกำหนดว่าธุรกิจของคุณคืออะไร? และผู้คนทั่วโลกจะรู้จักแบรนด์คุณในแบบไหนหรืออย่างไร?
คุณไม่จำเป็นที่จะต้องบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมด แต่จำเป็นต้องสื่อให้ผู้บริโภคของคุณ รับรู้เรื่องราวของคุณ ที่ทำให้ผู้คนพร้อมจะมีส่วนร่วมและเริ่มเปิดใจทดลองจนถึงกระทั่งไว้วางใจในแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณไปตลอดอย่างยั่งยืน…
SANG – สร้าง
SUN – ดวงอาทิตย์
TH – (ตัวย่อ) ไทย
เราสรรสร้างเพื่อสนับสนุน
ให้คนไทยยิ่งใหญ่ดุจดังดวงอาทิตย์
ไม่ว่าแบรนด์คุณจะเล็กหรือใหญ่ Brand Identity เป็นสิ่งสำคัญ ในวันนี้ที่เทคโนโลยีถึงพร้อมใครๆก็สามารถมีแบรนด์เป็นของตัวเองได้ ส่วนจะไปรอดหรือไม่รอดก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เชื่อว่าใครๆก็คงไม่อยากให้ธุรกิจล้มเหลว คู่มือธุรกิจมากมายจึงสอนให้เราคิดต่าง หาความแตกต่างในสิ่งที่ตัวเองมีให้เจอ แล้วนำความต่างนั้นออกมาสร้างอัตลักษณ์ให้ตัวเอง เพื่อให้เราตระหง่านในทะเลการแข่งขันที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง พูดง่ายๆคือ กลุ่มเป้าหมายต้องมองเห็นเรา และต้องจำเราได้ด้วย
การสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์ หรือ Brand Identity คือ การออกแบบลักษณะเฉพาะให้แบรนด์หรือองค์กร ลักษณะสำคัญของ Identity คือ การสร้างสัญลักษณ์(symbol) หมายถึงอะไรก็ตามที่สร้างสัมผัสแรกผ่านการมองเห็น ดังนั้นการสร้างอัตลักษณ์จึงมักอยู่ในรูปของ ชื่อแบรนด์ โลโก้ สี สโลแกน tagline หรือ typeface ซึ่งทั้งหมดที่ถูกออกแบบจะต้องย้อนกลับมาสร้างคุณค่าให้แบรนด์ และส่งต่อคุณค่านั้นสู่ลูกค้า
สำคัญอันดับแรกต้องวิเคราะห์ตัวเองเพื่อจะรู้จักตัวเอง จากนั้นจึงค่อยวิเคราะห์คู่แข่งและตลาด ทำได้ง่ายสุดด้วยกลยุทธ์ SWOT
แจกแจงและวิเคราะห์ให้แตกว่าอะไรคือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของทั้งแบรนด์เรา คู่แข่ง และตลาด การวิเคราะห์ที่เฉียบคมจะช่วยประหยัดเวลา ลดการสูญเสีย และลดการลองผิดลองถูกไปได้มาก และที่สำคัญคุณจะมองเห็นชัดขึ้นว่าคุณจะดึงอะไรออกมาสร้างอัตลักษณ์ให้ตัวเอง บอกตามตรงว่าไม่ง่าย เพราะมันไม่ใช่แค่การออกแบบโลโก้ แต่มันคือองค์รวมทั้งหมดที่จะสามารถสร้างการรับรู้ได้ในทุกมิติ ผ่านองค์ประกอบเพียงไม่กี่อย่าง
Core Identity เป็นหัวใจของการสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์ Core Identity จะไม่เปลี่ยนแปลงกันง่ายๆ เพราะมันคือแกนหลักที่จะสร้างการรับรู้ การจดจำ และสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มเป้าหมาย Core Identity ประกอบด้วยหลายอย่าง เช่น โลโก้ สี รูปแบบฟอนต์ ภาพถ่าย ภาพวาด ไอคอน ลายเส้น คาแรคเตอร์ สโลแกน เสียง หรือแม้แต่ guideline ซึ่งที่กล่าวมาไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอย่าง แต่หลายอย่างก็จำเป็นที่จะต้องมีนะ อย่าง โลโก้ รูปแบบฟอนต์ และ การใช้สี เป็นองค์ประกอบที่ละเลยไม่ได้
การสร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์จึงไม่มีข้อกำหนดตายตัว คุณสามารถเลือกให้เหมาะกับแบรนด์และองค์กรของตัวเอง ปรับเพิ่ม-ลดน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบให้เหมาะสมโดยอิงจากแผนวิเคราะห์ SWOT และ Direction ของแบรนด์และองค์กร
Brand Identity มีความสำคัญมากเป้นอันดับต้นๆ เราไม่ได้บอกว่าทุกแบรนด์ ทุกองค์กรจะต้องสร้าง Brand Identity แต่การมี Brand Identity จะทำให้คุณได้เปรียบในการแข่งขัน และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแบรนด์หรือองค์กรใหญ่ๆ ทุกธุรกิจสามารถสร้างอัตลักษณ์ให้ตัวเองได้
อย่าว่าแต่ธุรกิจเลย ‘คน’ ก็ยังสามารถสร้างอัตลักษณ์ให้ตัวเองได้ นักเขียน หลายคนมีรสภาษาเป็นของตัวเอง ผู้ประกาศข่าวชื่อดังหลายคนก็มีรูปแบบการอ่านข่าวที่เป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้น การสร้างอัตลักษณ์ เป็นเรื่องที่ให้คุณค่าอย่างสากลและแทรกซึมอย่ในทุกอุตสาหกรรม
ถึงแม้ประเทศไทย ไม่ได้เป็นแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมใหญ่ของโลก แต่พิจารณาภาพรวมและข้อมูลต่างๆ ประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านผลงานศิลปะและจากประวัติศาสตร์ยาวนานผสมผสานจนมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากวัดระดับ ความแข็งแรงทาง Brand Identity ของประเทศไทย ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตลักษณ์ที่ค่อนข้างชัดเจนหลายเรื่อง เช่น อาหารไทย,สินค้าสปา และ การนวดแบบไทย
ปัจจุบันมีแบรนด์จากไทยระดับ World-class โดยล้วนเกิดขึ้นจากกลุ่มนักธุรกิจ Elite ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจและกลุ่มผู้ประกอบการจากกลุ่มชนชั้นสูงที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนแบบสบายๆทั้งสิ้น แบรนด์สินค้าที่ก่อตั้งโดยบุคคลธรรมดา หรือแบรนด์ที่เริ่มต้นด้วยระยะเวลายาวนาน เมื่อคิดเป็นเปอร์เซนต์เทียบกับประเทศผู้นำเฮาส์แบรนด์เข้าสู่ตลาดโลกผ่านการเล่าเรื่องราวให้แบรนด์ เช่นฝรั่งเศส ที่มีผู้ประกอบการที่ก่อร่างสร้างแบรนด์มาด้วย ชื่อเสียงจริงๆล้วนเกิดขึ้นจากผู้ก่อตั้งที่เป็นช่างฝีมือ-นักออกแบบ ด้วยการนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์แบบเฉพาะกลุ่มแก่ผู้บริโภค (์Niche) โดยการตลาดประเภทนี้ มีโครงสร้างการบริการเพื่อมุ่งเป้าหลักๆในสร้างความมั่นใจจากกลุ่มลุกค้าที่มีจำนวนไม่มาก แต่เป็นกลุ่มฐานลูกค้าแบบซื่อสัตย์ (Royalty ) ฉะนั้นการควบคุมคุณภาพ และ นำเสนอบริการที่ทำให้สมาชิก รู้สึกเหนือกว่าด้วยสิทธิพิเศษที่มากกว่าผู้บริโภคทั่วไป เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของอาณาจักรยิ่งทำให้สมาชิกพึงพอใจมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นการขยายการเติบโตแบบบอกต่อปากต่อปากไปเรื่อยๆ และสิ่งที่คุณต้องรู้ไว้ว่า กว่า 90% แบรนด์เหล่านี้ มีรายได้หลักจากแค่การจำหน่ายสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์มาอย่างยาวนาน เพียงแค่ 1-2 รายการ และมีจำนวนสมาชิกระดับ SUPER VIP ที่ต้องดูแลอย่างดีเยี่ยมเพียงไม่กี่รายเท่านั้นเมื่อเทียบกับยอดขาย ด้วยการรักษาความสัมพันธ์อย่างแน่แฟ้นใช้เวลาและความซื่อสัตย์ของแบรนด์ด้วยการพิสูจน์คุณภาพแก่ลูกค้าไว้อย่างดีเยี่ยม
แม้ในปัจจุบัน ธุรกิจเหล่านี้กำลังเผชิญกับการถูกละเมิดตราสินค้าอย่างหนัก แต่่ในฐานะของผู้ใช้บริการ และนักการตลาด กลับรู้สึกว่าสิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบให้กับแบรนด์ กลับเป็นผลดีกับแบรนด์ด้วยซ้ำเพราะทุกครั้งที่มีใครถือสินค้าเท่ากับถืออัตลักษณ์ของแบรนด์ไปโปรโมทเช่นกัน เพราะหากคำนวนราคาเฉลี่ยโดยทั่วไปของสินค้าแล้ว ผู้ที่จะซื้อสินค้าอย่างแท้จริง ที่เป็นฐานลูกค้าหลักของแบรนด์เป็นกลุ่มที่มีฐานะดีและไม่นิยมซื้อสินค้าผ่านมือผู้อื่นนอกจากรับบริการโดยตรงจากร้าน official ที่นอกจากจะได้ความมั่นใจและได้เลือกสินค้าด้วยตัวเองแล้วยังได้รับการดูแลอย่างหรูหราแบบประทับใจอีกด้วย ส่วนลูกค้าอีกประเภทคือกลุ่มซื้อสินค้าแบบ USED หรือใช้แล้ว ทางแบรนด์ก็ไม่ได้นับว่าเป็นสมาชิกอยู่แล้ว
มูลค่าของนีชแบรนด์และยอดขาย
สินค้าเหล่านี้ใช้วัสดุที่ดีเยี่ยม และคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน อีกทั้งยังให้ความมั่นใจกับผู้บริโภค แม้ใน บางปัจจุบันบางแบรนด์ลดเกรดของผลิตภัณฑ์เพื่อเซพต้นทุน
หรือแม้แต่บางแบรนด์ก็ยังสามารถเลือกได้แม้กระทั่งจะอนุญาตจำหน่ายเฉพาะลูกค้าที่ทางแบรนด์เห็นสมควร เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเป็นที่ต้องการแก่ สมาชิกVIP ยอมจ่ายเงินหลักล้านเพื่อแลกมากับสินค้าที่มีผลิตจำนวนเฉพาะ เรียกว่า LIMITED EDITION เพื่อเป็นการตอกย้ำความพิเศษแก่สมาชิกที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก เป็นเสมือนท่อน้ำเลี้ยงอย่างแท้จริงของแบรนด์ จริงอยู่ที่สินค้าเหล่านี้มีต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป แต่ราคาต้นทุนไม่ได้เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าทั้งหมด แต่ยังมีค่าบริหารจัดการต่างๆ ค่าพื้นที่ในการวางจำหน่ายในจุดที่ดีที่สุดแต่ละแห่งของโลก ต้นทุนเหล่านี้คือการดูแลอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก และลูกค้าทั่วไป ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด และมันมีมูลค่าสูงกว่าต้นทุนสินค้า กว่า 200% เป็นเหตุผลที่แบรนด์ระดับไฮเอนด์ เลือกให้บริการกับลูกค้าจำนวนจำกัด เพื่อแลกกับการรับรายได้จากการจำหน่ายสินค้าจำนวนน้อยชิ้น ผลิตสินค้าเพียง ปีละ 3-4 ครั้งในจำนวนจำกัด จากการสั่งจองล่วงหน้า 6 – 8 เดือน ให้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสร้างสรรค์และออกแบบอย่างดีที่สุด เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ตอกย้ำความพิเศษ ให้ลูกค้าของแบรนด์ได้ไว้วางใจว่าสิ่งที่ได้รับคุ้มค่า แม้ค่าบริการต่างๆจะรวมอยู่ ในราคาจำหน่ายที่สูงกว่าต้นทุน กว่า 400 %
แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักมากที่ของโลก เช่น CHANEL , Louis Vuitton ,Hermes ล้วนมีอายุยาวนานกว่า 100 ปี แต่ธรรมเนียมปฏิบัติรูปแบบนี้ยังคงเป็นกฎเหล็กในการบริหารงานและนำเสนอสิ่งที่ดีขึ้นไปเรื่อยๆแก่สมาชิกระดับ Royalty ปัจจุบันกว่า 90% ของแบรนด์เหล่านี้อาจจะไม่ได้มีแม้กระทั่งผู้บริหารที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ก่อตั้งแบรนด์แต่อย่างไร แต่การรักษาไบเบิลหรือสูตรลับเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของ ” แบรนด์ ” ยังคงสืบทอดและส่งต่อกันมาอย่างยาวนาน และให้ความสำคัญที่สุดเป็นลำดับแรกอีกด้วย
หากลองเปรียบเทียบระดับการยอมรับกับสินค้าไทย พบว่าสินค้า “แบรนด์ไทย” และ “แบรนด์ท้องถิ่น” เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และหลายผลิตภัณฑ์ – หลายแบรนด์มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมในกลุ่มคนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวเมืองไทย แล้วซื้อกลับไป หรือส่งออกไปตลาดต่างประเทศ และมีกลุ่มพ่อค้าคนกลางมารับสินค้าไปในราคาถูกๆ แล้วนำไปจำหน่ายต่อในราคากว่า 300% เช่นกับแบรนด์ไฮเอนด์ต่างๆ ได้เช่นกัน สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนทั่วไป
และไม่แปลกถ้าหากเรากำลังพูดถึงสินค้าที่ใช้เครื่องจักรผลิตแบบหยาบๆ แต่หากว่าวันนี้กลุ่มคนที่ต้องการและมองเห็นคุณค่ามันเป็นผลงานที่ผ่านการสร้างสรรค์จากฝีมือของช่างระดับสูงล่ะ คุณคิดว่า การนั่งทอผ้า 1 ผืน ที่ใช้กรรมวิธีกว่า 100 ชั่วโมง พร้อมกับทอลวดลายออกมาเป็นผลงานที่มี อัตลักษณ์ฝังอยู่ในผลงานทุกผืน แต่ได้รับผลตอบแทนเพียง 1 ใน100% ของสินค้าอันทรงคุณค่า
“สินค้าท้องถิ่น” คือ สินค้าที่ลักษณะเฉพาะที่ผลิตและจําหน่ายในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ เริ่มต้นจากภูมิปัญญา วิถีชีวิต ประเพณี และได้รับการพัฒนาต่อยอด ด้วยความคิดสร้างสรรค์มากข้ึน แต่อาจยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
“สินค้าไทย” คือ สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศไทย ผลิตเพื่อจําหน่ายให้กับคนไทยและชาวต่างชาติ เป็นสินค้าที่รู้จักในคนวงกว้างผ่านการทําการตลาดและประชาสัมพันธ์
อ้างอิง จากงานวิจัยสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ได้มีการวบรวมงานวิจัยในไทย และต่างประเทศ 15 งานวิจัย สรุปออกมาเป็นองค์ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ
1. เอกลักษณ์ (Identity) คือ ลักษณะเฉพาะที่ไม่มีใครเหมือน ทำให้เป็นจุดเด่น เป็นที่รู้จัก และจดจำได้ ที่บ่งชี้สินค้าท้องถิ่นนั้นๆ
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Wisdom) องค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อ วัฒนธรรม การใช้ชีวิต และประสบการณ์ของคนในท้องถิ่นที่สั่งสมมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มชน หรือชนชาติ หรือคนท้องถิ่นนั้นๆ
3. ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การพัฒนา ดัดแปลง ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ – ประสิทธิผล และสร้างมูลค่าเพิ่มใหักับแบรนด์ – สินค้าไทย
วันนี้ในฐานะของนักออกแบบและในฐานะคนไทยคนหนึ่ง SANGSUNTH
กลับมองเห็นถึงปัญหาใหญ่กว่านั้น ที่อาจส่งผลให้ระบบนิเวศน์ของช่างฝีมือชั้นสูงของไทย
อาจจะค่อยๆเลือนหายไป พร้อมกับการสืบทอดเอกลักษณ์เฉพาะที่พิเศษในระดับชุมชนที่ขาดการต่อยอดและพัฒนา ทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพและเข้าถึงทุนและระดับความรู้ของวิชาชีพชั้นสูงในระดับสากลได้ หากมีการช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างจริงจัง
ในประเทศฝรั่งเศสได้มีการจัดตั้งสมาคมและสืบสานงานฝีมือแฟชั่นและการตัดเย็บชั้นสูง
ในชื่อ ” โอต์ กูตูร์ ” ให้บริการเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง เช่นราชวงค์ต่างๆทั่วโลก พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพันปีหลวง ของไทยก็เป็นหนึ่งในผู้ไว้วางใจให้ตัดฉลองพระองค์ มากมาย ตั้งแต่ครั้งเสด็จประภาสยุโรป ในปี 1986 โอต์กูตูร์ เช่นกัน
(ผลงานส่วนหนึ่งจากการออกแบบและตัดเย็บ จากดีไซน์เนอร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศส ปิแอร์ บัลแมง รวมถึงการปักและปักดิ้นไหมทองแบบชั้นสูง ผลงานตัวอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถยืนยันว่าเป็นการตัดเย็บโดย โอกูตูร์ )
” สิ่งไหนคือมูลค่าที่เหมาะสม และอะไรคือการได้รับเกียรติและสิทธิ์อันชอบธรรมอันพึงมี จากผลงานการสร้างสรรค์ที่เป็นอัตลักษณ์ของพวกเค้้าในแต่ละชิ้นงาน?
คำถามนี้ควรต้องมีคนตอบ ก่อนที่วันหนึ่งเราจะได้แต่ยืนเกาะตู้กระจกในพิพิธพัฒน์แล้วเสียดายที่เราเป็นผู้หนึ่งที่ปล่อยให้วัฒนะธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชั้นสูงที่สืบต่อมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่นหายไปตลอดกาล